U-Dom Student Services

แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ ให้คำปรึกษาเรื่องวีซ่า จองตั๋วเครื่องบิน จัดหาที่พัก


การเรียนระดับอุดมศึกษาที่สหรัฐ

ประเทศไทยนิยมส่งนักเรียนไปศึกษาในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ มาเป็นเวลานานแล้ว นักเรียนไทยจัดเป็นคนกลุ่มใหญ่ในกลุ่มนักเรียนต่างชาติในวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2552 มีนักศึกษาไทยประมาณ 9,000 คนศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐฯ และทำให้ไทยจัดอยู่ในอันดับ 10 ของโลกที่ส่งนักศึกษาไปยังสหรัฐฯ

ในปีการศึกษา 2552 มีนักศึกษาต่างชาติจำนวน 671,616 คนเดินทางไปศึกษาในสถาบันที่ได้รับรองวิทยฐานะกว่า 3,000 แห่งในสหรัฐฯ ในจำนวนนี้ ร้อยละ 61 มาจากประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆในเอเชีย

ระดับปริญญาตรี (Undergraduate or College Years)

นักศึกษาอเมริกันโดยทั่วไป มักเลือกเรียนในวิชาต่างๆ ที่ค่อนข้างมีความหลากหลายในช่วงระดับปริญญาตรี นักศึกษาส่วนมากจะยังไม่เน้นในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรี การศึกษาในช่วง 2 ปีแรกของหลักสูตร  นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนสาขาวิชาต่างๆ ที่เป็นวิชาพื้นฐาน เมื่อเข้าชั้นปีที่ 3  จึงเลือก “major” ของสาขาวิชาที่ต้องการ และต้องลงทะเบียนเรียนในวิชาต่างๆ ภายใต้สาขาวิชานี้ตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้ สำหรับสถาบันการศึกษาบางแห่ง นักศึกษาอาจต้องเลือก “minor” ด้วย เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิชาเลือก (เพิ่มเติม) ในสาขาวิชาอื่นๆ ได้

กรณีนักศึกษาต่างชาติ วิทยาลัยหลายแห่งแต่ไม่ใช่ทุกแห่ง ต้องการให้ผู้สมัครเข้ารับการสอบเข้า ซึ่งปกติจะเป็นการสอบ Scholastic Assessment Test(SAT l) หรือ American College Testing(ACT) Assessment บางแห่งอาจขอให้สอบ SATll  Subject Test  โดยการสอบ SAT l จัดขึ้นหลายครั้งในช่วงปีการศึกษา และขอเอกสารการลงทะเบียนได้จากผู้บริหารการสอบหรือจากศูนย์ข้อมูลทางการ ศึกษาและให้คำปรึกษาของสหรัฐ โดยผู้สมัครสามารถลงทะเบียนได้ทางอินเตอร์เน็ต

สำหรับการที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแรกของผู้สมัคร ต้องสอบ TOEFL  ส่วนกรณีเฉพาะการสอบความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษอื่น ๆ อาจเป็นที่ยอมรับได้

เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์

Test of English as a Foreign Language(TOEFL)

http://www.toefl.ort

Scholastic Assessment Test (SAT)

http://www.collegeboard.org

American College Testing(ACT) Assessment

http://www.act.org

ระดับสูงกว่าปริญญาตรี (Postgraduate or Graduate Education)

การศึกษาในระดับนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนเฉพาะเจาะจงในสาขาวิชาต่างๆ เช่น Library Science, Engineering, Social Work หรือ MBA  โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาศึกษา 2 ปี หลักสูตรปริญญาโทบางหลักสูตรอาจมีระยะเวลาเพียง 1 ปี เช่น หลักสูตรด้าน Journalism หรือ LLM การศึกษาในระดับนี้จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเข้าชั้นเรียน และต้องเตรียมเขียนงานวิจัย  หรือ “Master’s Thesis” ด้วย

         นักศึกษาต่างชาติสมัครเรียนระดับนี้ ขั้นแรกต้องระบุเป้าหมายการศึกษาและอาชีพให้ชัดเจน เพื่อช่วยให้เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมที่สุด จากนั้น การตรวจสอบสถานการรับรองวิทยฐานะของโปรแกรมปริญญาที่กำลังพิจารณาสมัคร และค้นหาว่าปริญญานั้นได้รับการรับรองในประเทศตนหรือไม่

เมื่อแยกแยะรายชื่อโปรแกรมที่มีสาขาวิชาและวิชาเฉพาะที่ต้องการแล้ว ให้เปรียบเทียบระหว่างโปรแกรมในแง่ของค่าใช้จ่าย ความช่วยเหลือทางการเงินที่จะหาได้ เงื่อนไขการรับเข้าศึกษาและปริญญา องค์ประกอบของคณาจารย์และองค์กรนักศึกษา รวมทั้งบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกในมหาวิทยาลัย

            ปริญญาเอก-Doctorate (Ph.D.):

สำหรับบางสถาบัน นักศึกษาอาจเตรียมตัวเพื่อการศึกษาในระดับปริญญาเอกได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเริ่มต้นการศึกษาในระดับปริญญาโทก่อน ระยะเวลาของหลักสูตร คือ 3 ปีหรือมากกว่า แต่สำหรับนักศึกษาต่างชาติ อาจต้องใช้เวลาในการศึกษาถึง 5-6 ปี  สำหรับการศึกษาในช่วง 2 ปีแรก นักศึกษาส่วนใหญ่จะลงทะเบียนเพื่อการเข้าชั้นเรียนและร่วมสัมมนาต่างๆ หลังจากนั้น จะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 1 ปีในการทำงานวิจัยของตนเอง และเขียนวิทยานิพนธ์ ซึ่งไม่เคยมีการทำมาก่อน  นักศึกษาจะต้องเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ  สอบผ่านตามระดับคะแนนที่กำหนด  และผ่านการสอบปากเปล่าในหัวข้อเดียวกับงานวิทยานิพนธ์จึงจะสำเร็จการศึกษา

เว็บไซต์ที่มีประโยชน์

รายชื่อศูนย์ข้อมูลและแนะแนวการศึกษาของสหรัฐ

http://educationusa.state.gov

เชื่อมโยงโฮมเพจของมหาวิทยาลัย

http://www.siu.no/heir

ค้นหาเว็บไซต์มหาวิทยาลัย

http://www.collegenet.com

http://www.collegeview.com

http://www.educationconnect.com

http://www.embark.com

http://www.gradschools.com

http://www.petersones.com

http://www.studyusa.com

ข้อมูลการรับรองวิทยฐานะ

http://www.chea.org

http://www.educationusa.state.gov

สำหรับข้อมูลการศึกษาต่อสหรัฐ โดยละเอียดทุกระดับ สามารถชมได้ทาง

http://thai.bangkok.usembassy.gov/services/irc/ref_stu.html

ที่มา  http://www.interscholarship.com


ไทย-เยอรมนี สู่ความร่วมมือทางการศึกษา

150ปี แห่งการสถาปนาทางการทูตระหว่างไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนั้น ถือเป็นความสัมพันธ์แน่นแฟ้นที่มีให้กันมาอย่างยาวนาน และจากความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันครั้งนี้ จึงได้นำไปสู่การเจรจาความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างไทยและเยอรมนี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้บินลัดฟ้าสู่ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเจรจาความร่วมมือทางการศึกษากับนางคอร์นีเลีย พีเพอร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ไปแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้

หากเอ่ยถึงความร่วมมือทางการศึกษาของไทยและเยอรมนีนั้น ประเทศเยอรมนีให้ความร่วมมือแก่ไทยในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และการฝึกอบรมทางวิชาชีพ การพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเยอรมนีแก่ไทย สำหรับความร่วมมือทางด้านการศึกษา เยอรมนีมีความสัมพันธ์และความร่วมมือทางด้านการศึกษาและวิชาการกับประเทศ ไทยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน และรัฐบาลเยอรมนียังได้เคยแสดงความสนใจที่จะสนับสนุนความร่วมมือระหว่าง สถาบันทางวิชาการของไทยกับเยอรมนีในด้านต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งของทั้งสองประเทศ ซึ่งได้พัฒนามาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาแบบทวิภาคี และสะท้อนถึงพัฒนาการของความสัมพันธ์ที่ยาวนานและพัฒนาไปสู่ระดับการเป็นหุ้นส่วนต่อกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจของไทย ทำให้พัฒนาขีดความสามารถไปสู่การเป็นคู่ภาคีกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทำให้ความตกลงที่ได้เคยทำร่วมกันไว้มาหลายปี จำเป็นต้องได้รับการปรับให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ทั้งนี้จุดเด่นของกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนีคือ การมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศด้วย ดังนั้น การหารือในครั้งนี้ จึงอยากให้มีการสานต่อในเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายได้เคยหารือไว้เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2555 ในครั้งที่ทางเยอรมนีเดินทางมาเยือนประเทศไทย

สำหรับการเจรจาความร่วมมือทางการศึกษาครั้งนี้ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช  รมว.ศึกษาธิการ อธิบายว่า ได้มีการหารือถึงแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษาของทั้งสองประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นร่วมกันว่า ทั้งสองประเทศควรมีความตกลงด้านการศึกษาระหว่างกันในลักษณะของความเป็นหุ้น ส่วนที่เท่าเทียมกัน และควรขยายถึงภาคีอื่น ๆ เช่น การให้ทุนแก่ประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเข้ามาศึกษาในประเทศไทยจากการสนับสนุนของไทยและเยอรมนี

“ผมถือว่าเยอรมนีมีการจัดระบบการศึกษาที่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการ จัดการศึกษาที่ให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักโลกของการทำงานในรูปแบบการเรียนคู่ ขนานหรือที่เรียกว่าเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ซึ่งในระดับอุดมศึกษาของประเทศเยอรมนี นอกจากให้นักศึกษาได้เรียนภาคทฤษฎีในมหาวิทยาลัยแล้วจะให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ   ดังนั้น การหารือครั้งนี้จะมีการทำบันทึกความร่วมมือ ในการจัดส่งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันอาชีวศึกษา มาฝึกปฏิบัติงานที่บริษัทชั้นนำของประเทศเยอรมนีด้วย ผมเชื่อมั่นว่าการหารือครั้งนี้จะส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในเรื่อง เทคโนโลยีต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น รวมถึงจะเป็นผลดีกับอนาคตของเด็กไทยด้วย” ศ.ดร.สุชาติ กล่าว

นอกจากการเดินทางไปเจรจาความร่วมมือกับประเทศเยอรมนีครั้งนี้แล้วยังได้ มีการเยี่ยมชมศูนย์ประกอบการส่งเสริมธุรกิจของสภาช่างอุตสาหกรรม พอสต์ดัม เมืองเกิตซ์ แคว้นบรันเด็นบวร์ก ประเทศเยอรมนีด้วย โดยศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์ฝึกอบรมและการศึกษาด้านหัตถกรรมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ซึ่งมีภาคเอกชนได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่ประชาชน เพื่อนำไปเทียบโอนวุฒิการศึกษาได้ ดังนั้นประชาชนที่ขาดความรู้ทางด้านเทคนิคต่าง ๆ ก็จะมาเข้ารับการฝึกอบรมที่ศูนย์แห่งนี้ และนำความรู้ที่ได้รับกลับไปต่อยอดการทำงาน หรือตลาดอุตสาหกรรมในประเทศได้ ขณะเดียวกันศูนย์ดังกล่าวยังเป็นแหล่งให้การศึกษาพิเศษที่เป็นที่ยอมรับใน 5 สาขา ได้แก่ ไฟฟ้า รถยนต์ โลหะ เครื่องทำความร้อน การทาสี ช่างไม้  อีกด้วย แม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่เชื่อว่าการศึกษาดูงานจากสถาบันแห่งนี้จะนำไปประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้มากอย่างแน่นอน

นับว่ามิตรภาพอันแน่นแฟ้นที่ทั้งสองประเทศมีให้แก่กันเหล่านี้จะเป็นตัว ผลักดันและเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับเด็กไทยในการเพิ่มศักยภาพด้านอุตสาหกรรม หรือนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงให้เทียบเท่าเวทีโลกได้อย่างงดงาม

ที่มา http://www.dailynews.co.th


นักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยดังลอนดอน 2,000 คน เสี่ยงถูกส่งตัวกลับประเทศ

นักศึกษาต่างชาติกว่า 2,000 คน เสี่ยงถูกส่งตัวกลับประเทศ หลังรัฐบาลอังกฤษยกเลิกสิทธิของมหาวิทยาลัยในการสอนและให้สิทธินักศีกษาที่มาจากประเทศนอกสหภาพยุโรปได้เรียนต่อ


กระทรวงคนเข้าเมืองกล่าวว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัยลอนดอน เมโทรโพลิแทน ไม่ได้เป็นกลุ่มที่ถูกตรวจสอบและหลายรายหมดสิทธิ์ในการเรียนต่อ เป็นผลทำให้มหาวิทยาลัยไม่สามารถอนุญาตให้การรับรองการตรวจลงตราหนังสือเดินทางให้แก่นักศึกษาต่างชาติ

สหภาพนักศึกษาแห่งชาติ ได้ติดต่อไปยังนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน และนางเทเรซา เมย์ รัฐมนตรีมหาดไทย เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการตัดสินใจ และจะเป็นหายนะสำหรับอุตสาหกรรมการศึกษาของอังกฤษที่มีรายได้จากนักศึกษาต่างชาติมากถึง 1.25 หมื่นล้านปอนด์  เมื่อปีก่อน

แจ้งว่า  มาตรการนี้ทำให้นักศึกษาต่างชาติต้องลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยอื่นภายใน 60 วัน  หากไม่ทันจะมีนักศึกษาต่างชาติกว่า 2,000 คน เสี่ยงถูกส่งตัวกลับประเทศ

รัฐบาลกล่าวว่า ต้องการประเมินว่ามีนักศึกษาจำนวนเท่าใดที่สามารถลงทะเบียนเรียนในสถาบันการศึกษาอื่นก่อนที่กระทรวงฯจะยื่นหนังสือแจ้งเตือน 60 วัน เพื่อให้นักศึกษาออกจากประเทศหรือลาออกจากมหาวิทยาลัย โดยในขั้นตอนนี้ กระทรวงกลาโหมไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีการออกหนังสือเตือนเมื่อใด

มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีสถานภาพเป็นสถาบันที่ได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากรัฐบาล ทำให้สามารถรับรองวีซาแก่นักศึกษาต่างชาตินอกสหภาพยุโรป แต่ฝ่ายวีซาของรัฐบาลอังกฤษได้ยกเลิกสถานภาพนี้เมื่อวันพุธ โดยให้เหตุผลว่ามหาวิทยาลัยไม่ดำเนินการตามกระบวนการ

ด้าน นายแดเมียน กรีน รัฐมนตรีกระทรวงคนเข้าเมือง ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า ผลการตรวจสอบบัญชีในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ฝ่ายวีซาพบว่ามหาวิทยาลัยไม่มีคุณสมบัติที่จะให้การรับรองวีซานักศึกษาต่างชาติ เนื่องจากนักศึกษา 1 ใน 4 ไม่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในอังกฤษ

กลุ่มตัวอย่าง 20 จาก 50 คน ไม่มีหลักฐานยืนยันว่านักศึกษาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูด และ 142 จาก 250 คน ของนักศึกษาที่ลงทะเบียน ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าได้เข้าชั้นเรียนจริง อย่างไรก็ดี รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่จะถูกถอนวีซาแล้ว

ปีการศึกษา 2010-2011 มีชาวต่างชาตินอกอียูเข้ามาเรียนในอังกฤษเกือบ 300,000 คน เฉพาะมหาวิทยาลัยลอนดอน เมโทรโพลิแทน มีนักศึกษาต่างชาติทั้งในและนอกอียู 6,000 คน ติด 1 ใน 20 มหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดของประเทศ

 

ที่มา http://www.matichon.co.th/