U-Dom Student Services

แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ ให้คำปรึกษาเรื่องวีซ่า จองตั๋วเครื่องบิน จัดหาที่พัก

Canada

ระบบการศึกษาในประเทศแคนาดา

แคนาดา เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา มีมหาสมุทรล้อมรอบ 3 ด้าน มีเนื้อที่กว้างใหญ่ถึง 9,970,610 ตารางกิโลเมตร ส่วนกว้างมีความยาวกว่า 6,000 กิโลเมตร หากเดินทางโดยทางรถยนต์จากฝั่งตะวันตกไปฝั่งตะวันออก โดยเริ่มจากเมืองแวนคูเวอร์ไปจนถึงเมืองโตรอนโต ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 3 วัน ปัจจุบันแคนาดาประกอบด้วย มณฑลและเขตปกครอง 2 เขต (Territories) อยู่ภายใต้การ ปกครองของรัฐบาลกลาง เมืองหลวงชื่อ ออตตาวา มณฑล ออนตาริโอ

แคนาดาได้ถูกจัดขึ้นอยู่ในอันดับสูงในด้านการศึกษา และระดับอายุเฉลี่ยสูง (โดยระบบสุขอนามัยมาตรฐานเป็นเกณฑ์)  มีอัตราอาชญากรรมและการก่อความรุนแรงอยู่ในระดับต่ำ ตัวอย่างเช่น เมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแคนาดา คือ แวนคูเวอร์  โตรอนโต และมอนทรีออล ถูกจัดให้เป็นเมืองติดอันดับโลกที่มีความน่าอยู่เหมาะกับการทำงาน  มีความสะอาด  ปลอดภัย มีอิสระในการทำกิจกรรมของแต่ละวัฒนธรรมที่ดึงดูดความสนใจของคนทั่วไป


สถานที่น่าสนใจ

ภาคตะวันตก ประกอบด้วย 4 มณฑล
บริติชโคลัมเบีย (British Columbia) ได้ชื่อว่าเป็น ประตูสู่แปซิฟิก เป็นมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของแคนาดา มีชายฝั่งทะเลที่งดงามคล้ายฟยอร์ด พื้นที่เป็นภูเขาใหญ่น้อย เมืองหลวงคือวิคตอเรีย (Victoria) แต่เมืองที่เป็นที่รู้จักกันดี คือเมืองแวนคูเวอร์ Vancouver อากาศจะอบอุ่นที่สุด

อัลเบอร์ตา (Alberta) เป็นถิ่นกำเนิดของเทือกเขา Rocky เมืองหลวงคือ เอดมันตัน (Edmonton) มีดอกกุหลาบป่า (Wild Rose) เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ทางการของมณฑล มณฑลนี้มีทรัพยากรธรรมชาติคือ น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ มีป่าไม้ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และที่ราบเพาะปลูกข้าวสาลี

ซัสคาเซวาน (Saskatchewan) เมืองหลวงชื่อ เรจินา (Regina) พื้นที่ครึ่งหนึ่งของมณฑลเต็มไปด้วยป่าไม้ที่เหลือเป็น ส่วนหนึ่งของทุ่งราบแพรรี่ (Prarie) บางส่วนเป็นทะเลสาบน้ำ ใสสะอาด ซัสคาเซวานได้ชื่อว่าเป็น “ตะกร้าขนมปัง” ของ แคนาดา เพราะเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสาลี ข้าวฟาง ข้าวไรย์ และลูกเดือย

มานิโตบา (Manitoba) ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศแคนาดา พื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑลเต็มไปด้วยทะเลสาบ จนได้ ชื่อว่า “Land of 100,000 lakes” มณฑลนี้เป็นแหล่งที่ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ทางตอนเหนือพื้นที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง และป่าไม้ ที่นี่มีการทำเหมืองแร่ที่สำคัญคือ ทองแดง สังกะสี และนิเกิล เมืองหลวงชื่อ วินนิเพก (Winnipeg)

ภาคกลาง ประกอบด้วย 2 มณฑล คือ
ออนตาริโอ (Ontario) เป็นมณฑลที่เป็นศูนย์กลาง ทางการเงินและการอุตสาหกรรม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร มีเหมืองแร่ทองคำ นิเกิล ทองแดง ยูเรเนียม และสังกะสี เมืองหลวงของมณฑลชื่อ โตรอนโต (Toronto) ทางตอนใต้ ของออนตาริโอ มีน้ำตกที่สวยงามและมีชื่อเสียงชื่อ น้ำตก ไนแองการ่า นอกจากนี้ออนตาริโอยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ของประเทศคือ เมืองออตตาวา และเป็นที่ตั้งขององค์กรสำคัญๆ และบริษัทใหญ่ ๆ ของแคนาดา

ควิเบค (Quebec) มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา มณฑลทั้งหมดของประเทศแคนาดา มณฑลนี้ล้อมรอบด้วยน้ำเกือบทั้งหมด ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายฝรั่งเศส ภาคตะวันออกประกอบด้วย 4 มณฑล คือ

1. นิวฟาวแลนด์ (Newfoundland) เมืองหลวงชื่อ เซ็นต์จอห์น มณฑลนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของแคนาดา

2. พรินซ์ เอ๊ดเวิร์ด ไอร์แลนด์ (Prince Edward Island) เมืองหลวงชื่อ ชาร์ล็อตต์ทาวน์ (Charlottetown) เป็นมณฑลที่เล็กที่สุดของแคนาดา

3. โนวาสโกเทีย (Nova Scotia) เมืองหลวงชื่อ ฮาลิแฟ็กซ์ (Halifax)

4. นิว บรันสวิก (New Brunswick) เมืองหลวงชื่อ เฟรเดริคตัน (Fredericton) มณฑลนี้มีน้ำล้อมรอบสามด้าน เป็นที่ตั้ง ของอ่าวฟันดี (Bay of Fundy) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอ่าวที่มีคลื่นสูงที่สุด ในโลก

เขตปกครองพิเศษ 2 เขต และ 1 มณฑล คือ

1. นอร์ธเวสต์ (Northwest Territories) เมืองหลวงชื่อ เยลโลไนฟ์(Yellow Knife) ที่นี่ในช่วงฤดูร้อนกลางวันจะยาวกว่า กลางคืนมาก จนพระอาทิตย์แทบจะไม่เคยลับขอบฟ้า ส่วนในฤดูหนาว จะตรงกันข้ามคือมืดมิดจนไม่มีกลางวัน

2. ยูคอน (Yukon Territory) เมืองหลวงชื่อไวท์ฮอร์ส (Whitehorse)ในช่วงฤดูร้อนพระอาทิตย์ไม่เคยหลับ จนได้ชื่อว่า Midnight Sun หรือดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน

และ มณฑลนันนาวูท (Nunavut Province) เป็นมณฑล ใหม่แยกมาจากนอร์ธเวสต์ มีเมืองหลวงชื่อ อิคคาลูอิท (Iqaluit) มีภูมิอากาศ คล้ายนอร์ธเวสต์ เทอริทอรี่

การศึกษา

รัฐบาลแคนาดาให้เงินอุดหนุนการศึกษาต่อประชากรสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก มาตรฐานการ ศึกษาของแคนาดาเป็นที่ยอมรับทั่วโลกทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ปริญญาจากมหาวิทยาลัยในแคนาดาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากลและนักศึกษาต่างชาติที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในแคนาดามักจะประสบความสำเร็จ   โดยทั่วไปเด็กชาวแคนาดาจะเข้าเรียนระดับอนุบาลเมื่ออายุ 4-5 ขวบ ละจะเริ่มเรียนเกรดหนึ่งเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ  ปีการศึกษาจะเริ่มในเดือนกันยายน จน ถึงเดือนมิถุนายนถัดไป  แต่ในบางแห่งอาจเปิดภาคเรียนในเดือนมกราคม  สำหรับชั้นมัธยมศึกษามีจนถึงเกรด 11,12 หรือ 13 แล้วแต่มณฑล จากระดับนี้เด็กจะเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย (ระดับมหาวิทยลัยจะเป็นของภาครัฐทั้งหมด) หรือวิทยาลัย หรือ ซีเจ็ฟ CEGEP เป็นคำย่อที่มาจากการรวมชื่อของวิทยาลัยเพื่อการศึกษาทั่วไป และวิชาชีพ    สำหรับการศึกษาทั่วไปจะเรียน 2 ปี ส่วนหลักสูตรวิชาชีพเรียน 3 ปี

ระบบการศึกษาของแคนาดาประกอบด้วย สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับก่อนเข้าวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย การศึกษาในแคนาดาอยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงศึกษาธิการของแต่ละมณฑล และเขตปกครองพิเศษ ดังนั้นระบบการศึกษาจึงมีความแตกต่างกัน แต่ด้วยการประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการของคณาจารย์ และสถาบันต่างๆ รวมทั้งคณะกรรมการ พิจารณาจัดสรรงบประมาณ เพื่อการศึกษา ทำให้การศึกษาทั่วทั้งแคนาดามีมาตรฐานสูง ระดับเดียวกัน

ระดับประถมศึกษา

ระบบการศึกษาเริ่มจากชั้นอนุบาลเช่นเดียวกับประเทศ อื่น ๆแต่ชั้นประถมศึกษาในแต่ละมณฑลจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้คือ 1. กลุ่มที่มีชั้นประถม 1-8 คือ มณฑลออนตาริโอ และมณฑลมานิโตบา 2. กลุ่มที่มีชั้นประถม 1-7 คือ มณฑลบริติชโคลัมเบีย และเขตยูคอน 3. กลุ่มที่มีชั้นประถม 1- 6 คือทุกมณฑลนอกจากที่กล่าว มาแล้ว

ระดับมัธยมศึกษา

จำนวนการศึกษาระดับมัธยมจะแตกต่างกันไปในแต่ละมณฑล แต่เมื่อรวมการเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาแล้วจะรวมใช้เวลาเรียน 12 ปี ข้อยกเว้นคือ มณฑลควิเบคและมณฑลออนตาริโอ จะจัดระบบชั้นมัธยมเลยไปอีก 1 ปี รวมเวลา เรียน 13 ปี คล้ายๆ กับว่ามีมัธยม 7 แต่นักเรียนที่เรียนจบชั้น มัธยม 7 จะเรียนอีก 3 ปี ก็ได้รับปริญญาตรี ในขณะที่มณฑลและเขตการปกครองอื่นๆ หลักสูตรปริญญาตรีจะใช้เวลาเรียน 4 ปี ในมณฑลควิเบคยังมีระบบการศึกษาซึ่งอยู่กึ่งกลาง ระหว่างมัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นระบบคล้ายของฝรั่งเศส ที่เรียกว่า เซเจ๊ฟ (Cegep) การศึกษาในระดับนี้จะรับผู้จบ มัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าเรียนวิชาชีพเป็นเวลา 2 ปี โรงเรียนมัธยม

ของแคนาดามีทั้งของรัฐบาลและของเอกชน ถ้าเป็นของเอกชนต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ของแต่ละมณฑล โรงเรียนรัฐส่วนใหญ่เป็นแบบสหศึกษา ส่วนของเอกชนนั้นมีทั้งแบบหญิงล้วน ชายล้วน หรือ สหศึกษา บางโรงเรียนเป็นโรงเรียนประจำ

ระดับมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยในแคนาดามีทั้งขนาดเล็กมีนักศึกษาไม่ถึง 1,000 คน ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีนักศึกษากว่า 35,000 คน การเข้าศึกษาถูกกำหนดโดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง โดยทั่วไปจะไม่มีการสอบเข้า แต่ละมหาวิทยาลัยมีมาตรฐานของตนเอง เนื่องจากแคนาดามีภาษาราชการ 2 ภาษาคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ผู้สอบเข้ามหาวิทยาลัยจะเลือกสอบได้ทั้งสถาบันที่ใช้ ภาษาอังกฤษและสถาบันที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส บางมหาวิทยาลัย สอนทั้ง 2 ภาษา แต่นักศึกษารู้ภาษาเดียวก็เพียงพอ

สำหรับความสามารถในการใช้ภาษาของนักศึกษาต่างชาติ นั้น มหาวิทยาลัยทั่วไป (ยกเว้นที่สอนเป็นภาษาฝรั่งเศส) ใช้คะแนน TOEFL หรือ IELTS โดยต้องได้คะแนน TOEFL อย่างต่ำ 550 มีมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่กำหนดคะแนนไว้ที่ 600 ขึ้นอยู่กับ สาขาวิชาที่จะเรียน

ระยะเวลาการศึกษาในมหาวิทยาลัยของ แต่ละมณฑลนั้นแตกต่างกันไปจาก 3-5 ปี ซึ่งนักศึกษาควรจะต้องตรวจสอบกับมหาวิทยาลัยที่สมัคร บางมหาวิทยาลัยจะมี ปริญญาตรี 2 แบบ คือ แบบทั่วไป (Ordinary Degree) ซึ่งอาจเรียนจบภายใน 3 ปี และแบบเกียรตินิยม (Honours Degree) ซึ่งมีวิชาให้เรียนเพิ่มอีก 1 ปี เหมาะสำหรับผู้จะเรียนต่อปริญญาโท ในบางแขนงวิชา มีการฝึกงานด้วยหลักสูตร อาจจะเป็น 5 ปี หลักสูตรที่จำเป็นต้องฝึกงาน คือ หลักสูตร บัญชี สถาปัตยกรรม และวิศวกรรมศาสตร์ สำหรับปริญญาโทใช้เวลาเรียน 1-2 ปี นักศึกษา สามารถ เลือกเรียนแบบ Course Work ฟังการบรรยายและเขียน รายงานหรือเลือกทำ Project หรือเลือกเขียนวิทยานิพนธ์ และสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ส่วน ปริญญาเอกใช้เวลาเรียน 3-5 ปี โดยเป็น Course Work ประมาณ 2 ปี ที่เหลือเป็นการค้นคว้างาน วิจัยการเสนอรายงาน เชิง วิชาการ และการเขียนวิทยานิพนธ์

การศึกษากึ่งวิชาชีพ (Community College หรือ Career College)

เป็นการศึกษาที่ใช้เวลาเรียน 1-3 ปี มุ่งเน้นผลิตนักศึกษา เพื่อออกสู่ตลาดแรงงานให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิชา ที่เปิดสอนจึงมีการปรับหลักสูตรตลอดเวลาให้สอดคล้องตาม นโยบายเศรษฐกิจของชาติและกระแสตลาดแรงงาน

การศึกษาภาคปฎิบัติ (Co-op Education)

คือการศึกษาที่สถาบันการศึกษาร่วมมือกับภาคธุรกิจ เปิด โอกาสให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง โดยจะได้รับค่าจ้าง โดยทั่วไป นักศึกษาจะฝึกงานประมาณ 2 ภาคเรียน ก่อนที่จะสำเร็จ การศึกษา

การโอนหน่วยกิต

แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีระเบียบการเทียบโอนหน่วยกิต แตกต่างกันไป นักศึกษาต้องตรวจสอบไปยังมหาวิทยาลัยที่ต้อง การเทียบโอนหน่วยกิตก่อนตัดสินใจย้ายสถานศึกษา

โรงเรียนสอนภาษา

มีโรงเรียนสอนภาษาสำหรับต่างชาติที่เรียกว่า English as a Second Language (ESL) และสอนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สอง French as a Second Language (FSL) หลายแห่ง กระจายตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วแคนาดา ทั้งนี้เพราะผู้อพยพเข้ามา ตั้งถิ่นฐานในแคนาดาจำเป็นต้องปรับระดับทักษะภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยชุมชนเกือบทุกแห่ง มีแผนกภาษา อังกฤษเปิดสอนหลักสูตร ESL สำหรับนักศึกษาต่างชาติ แต่จะมีข้อกำหนดวันเริ่มเรียนเป็นข้อๆ และคุณสมบัติของผู้เรียน ระบุไว้ ส่วนโรงเรียนสอนภาษาเอกชนนั้นนักศึกษาสามารถเข้า เรียนได้ตลอดปีและมีหลักสูตรให้เลือกมากกว่า นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ในสาขาที่สำเร็จการศึกษา แต่ต้องภายใน 60 วันหลังจากวันที่สำเร็จการศึกษา โดยขอวีซ่าทำงาน (Employment Authorization)

การสมัครเข้าศึกษา

การเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของแคนาดา นักศึกษาควรศึกษารายละเอียดของแต่ละสถาบัน และต้องเตรียม

เอกสาร ที่ทางสถาบันกำหนดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนนำส่งสำนักงานนายทะเบียนที่จะศึกษา หากเอกสารไม่ครบถ้วนทางเจ้าหน้าที่ อาจส่งเอกสารคืน ทำให้การสมัครล่าช้า สถานศึกษาในประเทศ แคนาดาค่อนข้างเข้มงวดและจะไม่พิจารณาใบสมัครของนักศึกษา จนกว่าจะได้เอกสารทุกอย่างครบ ถ้าไม่สามารถนำส่งเอกสารได้ ครบถ้วนนักศึกษาควรแนบใบสมัครแจ้งเหตุผลให้ทางสถาบันทราบ และกำหนดวันที่จะยื่นเอกสารที่ยังขาด

โดยทั่วไปแคนาดายินดีต้อนรับนักศึกษาต่างชาติ แต่เนื่อง ด้วยสถาบันแต่ละแห่งได้รับเงินสนับสนุนค่อนข้างมากจากรัฐบาล จึงมีการจำกัดจำนวนนักเรียนต่างชาติไว้ที่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นนักศึกษาควรสมัครเรียนมากกว่าหนึ่งแห่งเพื่อเพิ่มโอกาส ในการได้รับการตอบรับ

การเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท

นักศึกษาควรสมัครเข้าเรียนหลักสูตร University Transfer Program ในวิทยาลัยก่อน ใช้เวลาเรียน 2 ปี ทำคะแนนให้ดี แล้วโอนหน่วยกิตเข้ามหาวิทยาลัย หลังเรียนต่ออีก 2 ปี จะได้ปริญญา ซึ่งง่ายกว่าการสมัครตรงเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการสมัครยากกว่า สำหรับปริญญาโทนักศึกษาที่มีคะแนนภาษาอังกฤษและผลการเรียนดี สามารถสมัครเรียนโดยตรง ในกรณีที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ นักศึกษาสามารถ เข้าเรียนภาษาในมหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียนก่อน ทำคะแนน TOEFL ให้ได้ 550 ถึง 600 และพยายามหาโอกาสทำความรู้จักกับอาจารย์ อาจจะช่วยให้การสมัครในการเข้าศึกษาง่ายขึ้น

ปีการศึกษา

ปีการศึกษาในแคนาดาส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 2 ภาคเรียนคือ ภาคเรียนที่ 1 (Fall Semester) เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม ภาคเรียนที่ 2 (Winter Semester) เดือนมกราคมถึงเดือน เมษายน ช่วงหยุดภาคฤดูร้อน (Spring และ Summer) เดือน พฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม สถาบันบางแห่งเปิดสอนหลักสูตร ภาคฤดูร้อนด้วย

ใส่ความเห็น