U-Dom Student Services

แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ ให้คำปรึกษาเรื่องวีซ่า จองตั๋วเครื่องบิน จัดหาที่พัก


นักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยดังลอนดอน 2,000 คน เสี่ยงถูกส่งตัวกลับประเทศ

นักศึกษาต่างชาติกว่า 2,000 คน เสี่ยงถูกส่งตัวกลับประเทศ หลังรัฐบาลอังกฤษยกเลิกสิทธิของมหาวิทยาลัยในการสอนและให้สิทธินักศีกษาที่มาจากประเทศนอกสหภาพยุโรปได้เรียนต่อ


กระทรวงคนเข้าเมืองกล่าวว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัยลอนดอน เมโทรโพลิแทน ไม่ได้เป็นกลุ่มที่ถูกตรวจสอบและหลายรายหมดสิทธิ์ในการเรียนต่อ เป็นผลทำให้มหาวิทยาลัยไม่สามารถอนุญาตให้การรับรองการตรวจลงตราหนังสือเดินทางให้แก่นักศึกษาต่างชาติ

สหภาพนักศึกษาแห่งชาติ ได้ติดต่อไปยังนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน และนางเทเรซา เมย์ รัฐมนตรีมหาดไทย เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการตัดสินใจ และจะเป็นหายนะสำหรับอุตสาหกรรมการศึกษาของอังกฤษที่มีรายได้จากนักศึกษาต่างชาติมากถึง 1.25 หมื่นล้านปอนด์  เมื่อปีก่อน

แจ้งว่า  มาตรการนี้ทำให้นักศึกษาต่างชาติต้องลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยอื่นภายใน 60 วัน  หากไม่ทันจะมีนักศึกษาต่างชาติกว่า 2,000 คน เสี่ยงถูกส่งตัวกลับประเทศ

รัฐบาลกล่าวว่า ต้องการประเมินว่ามีนักศึกษาจำนวนเท่าใดที่สามารถลงทะเบียนเรียนในสถาบันการศึกษาอื่นก่อนที่กระทรวงฯจะยื่นหนังสือแจ้งเตือน 60 วัน เพื่อให้นักศึกษาออกจากประเทศหรือลาออกจากมหาวิทยาลัย โดยในขั้นตอนนี้ กระทรวงกลาโหมไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีการออกหนังสือเตือนเมื่อใด

มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีสถานภาพเป็นสถาบันที่ได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากรัฐบาล ทำให้สามารถรับรองวีซาแก่นักศึกษาต่างชาตินอกสหภาพยุโรป แต่ฝ่ายวีซาของรัฐบาลอังกฤษได้ยกเลิกสถานภาพนี้เมื่อวันพุธ โดยให้เหตุผลว่ามหาวิทยาลัยไม่ดำเนินการตามกระบวนการ

ด้าน นายแดเมียน กรีน รัฐมนตรีกระทรวงคนเข้าเมือง ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า ผลการตรวจสอบบัญชีในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ฝ่ายวีซาพบว่ามหาวิทยาลัยไม่มีคุณสมบัติที่จะให้การรับรองวีซานักศึกษาต่างชาติ เนื่องจากนักศึกษา 1 ใน 4 ไม่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในอังกฤษ

กลุ่มตัวอย่าง 20 จาก 50 คน ไม่มีหลักฐานยืนยันว่านักศึกษาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูด และ 142 จาก 250 คน ของนักศึกษาที่ลงทะเบียน ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าได้เข้าชั้นเรียนจริง อย่างไรก็ดี รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่จะถูกถอนวีซาแล้ว

ปีการศึกษา 2010-2011 มีชาวต่างชาตินอกอียูเข้ามาเรียนในอังกฤษเกือบ 300,000 คน เฉพาะมหาวิทยาลัยลอนดอน เมโทรโพลิแทน มีนักศึกษาต่างชาติทั้งในและนอกอียู 6,000 คน ติด 1 ใน 20 มหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดของประเทศ

 

ที่มา http://www.matichon.co.th/


เตือนโรคระบาดในรัฐเท็กซัส

เอเอฟพี – มลรัฐเทกซัส ของสหรัฐฯ กำลังผจญกับการแพร่ระบาดของไวรัสเวสต์ไนล์ และมีผู้เสียชีวิตจากโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะแล้วอย่างน้อย 16 ราย ขณะที่หน่วยงานสาธารณสุขแห่งรัฐเผยว่านับตั้งแต่ต้นปีมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ไวรัสนี้แล้วราวถึง 381 คน

สำนักงานสาธารณสุขแห่งรัฐเทกซัสระบุในถ้อยแถลงว่า “เทกซัสอยู่บนเส้นทางของการมีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์มากที่สุด นับตั้งแต่โรคติดต่อนี้ปรากฏตัวขึ้นภายในรัฐครั้งแรกเมื่อปี 2002”

ในดัลลัส เมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 9 ของสหรัฐฯ เป็นพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสเวสต์ไนล์รุนแรงที่สุด หลังพบผู้ติดเชื้อ 128 รายและเสียชีวิตไปแล้ว 9 คน จนทำให้นายกเทศมนตรีต้องประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับท้องถิ่น

“เมืองดัลลัส กำลังประสบกับการแพร่ระบาดของไวรัสเวสต์ไนล์ที่มียุงเป็นพาหะ ดูเหมือนว่ามันจะทำให้เกิดการล้มป่วยอย่างกว้างขวางและรุนแรง รวมถึงการสูญเสียชีวิต” นายกเทศมนตรีไมเคิล รอว์ลิงส์ ระบุในคำประกาศภาวะฉุกเฉินซึ่งมีผลตั้งแต่วันพุธ (15) เป็นต้นไป

ไวรัสเวสต์ไนล์ ถูกพบครั้งแรกที่ยูกันดา ในปี 1937 โดยมันจะแพร่จากนกมาสู่คนโดยมียุงเป็นพาหะ ขณะที่ผู้ป่วยขั้นรุนแรงจะมีไข้สูง ตาพร่ามัวและอาจถึงขั้นเป็นอัมพาต ส่วนผู้ป่วยขั้นเบาบาง ก็อาจจะแค่ปวดหัวไปจนถึงเป็นผดผื่น

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อแห่งสหรัฐฯ ระบุว่านับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ได้รับรายงานถึงผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสนี้ทั่วประเทศ 693 ราย ในนั้นเสียชีวิตไปแล้ว 26 คน และเทกซัส ก็เป็นมลรัฐที่มียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุด

ในความพยายามจำกัดจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ๆ เจ้าหน้าที่เทกซัสแนะนำประชาชนให้ฉีดยาไล่ยุงก่อนออกนอกบ้าน สวมเสื้อผ้ามิดชิดและกำจัดแหล่งน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ขณะที่เมื่อเดือนที่แล้ว เจ้าหน้าที่ในนิวยอร์กเผยว่าตรวจพบเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ ที่สเตเทน ไอส์แลนด์ หนึ่งใน 5 เขตปกครองของเมืองเช่นกัน

ข่าวจากผู้จัดการออนไลน์


ประกาศเปลี่ยนแปลงค่าวีซ่าประเทศนิวซีแลนด์

————–

Application fees

Immigration New Zealand wishes to advise that application fees globally have been reviewed.  Fees are set at a New Zealand dollar base rate, and then converted to Thai Baht and US dollars.

——————————————

Current immigration fees

The application fees are changing on the 2nd of July 2012.

Effective from Monday 2 July 2012 the application fees are as follows:

Type of visa Baht US$
Visitor visa 4,300 140
Group visitor visa – Thailand 2,100 70
Student visa 7,100 225
Work visa – other 7,100 225
Work visa – work partnership 9,400 300
Work visa – Work to Residence 9,400 300
Working Holiday Scheme 4,300 140
Transit visa 3,700 115
Label transfer (to new passport) 2,800 90
Residence – Family Category 41,600 1,315
Skilled Migrant Category 62,400 1,970
Permanent resident visa and resident visa 4,700 150

Acceptable modes of payment include bank draft and credit card (Master or Visa card).  Bank drafts can be made in both THB and USD.  USD bank drafts require an additional USD 10 for bank fees.  Bank drafts should be made payable to “New Zealand Immigration Service”.

—————-

Courier fees

Country of residence Courier fee payable (THB) Courier fee payable (USD)
Thailand (via EMS) THB 50
Laos, Vietnam, Philippines, Cambodia, Myanmar, Sri Lanka, Pakistan, New Zealand THB 900 US $32.00
Bahrain, Iran, Jordan, Kuwait, Lebanon, Oman, Qatar, Saudi Arabia, UAE, Yemen THB 1,600 US $56.00
Iraq, Israel, Syria, Egypt THB 2,350 US $80.00

If you are paying the courier fee by bank draft in $US, please add an additional US$10.00 for bank administration fees.

You only need to pay one courier fee if you are lodging multiple applications.

The changes to courier fees are effective from 1st June, 2012

———–

Ref : http://www.immigration.govt.nz/branch/BangkokBranchHome/fees/