U-Dom Student Services

แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ ให้คำปรึกษาเรื่องวีซ่า จองตั๋วเครื่องบิน จัดหาที่พัก


การเรียนระดับอุดมศึกษาที่สหรัฐ

ประเทศไทยนิยมส่งนักเรียนไปศึกษาในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ มาเป็นเวลานานแล้ว นักเรียนไทยจัดเป็นคนกลุ่มใหญ่ในกลุ่มนักเรียนต่างชาติในวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2552 มีนักศึกษาไทยประมาณ 9,000 คนศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐฯ และทำให้ไทยจัดอยู่ในอันดับ 10 ของโลกที่ส่งนักศึกษาไปยังสหรัฐฯ

ในปีการศึกษา 2552 มีนักศึกษาต่างชาติจำนวน 671,616 คนเดินทางไปศึกษาในสถาบันที่ได้รับรองวิทยฐานะกว่า 3,000 แห่งในสหรัฐฯ ในจำนวนนี้ ร้อยละ 61 มาจากประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆในเอเชีย

ระดับปริญญาตรี (Undergraduate or College Years)

นักศึกษาอเมริกันโดยทั่วไป มักเลือกเรียนในวิชาต่างๆ ที่ค่อนข้างมีความหลากหลายในช่วงระดับปริญญาตรี นักศึกษาส่วนมากจะยังไม่เน้นในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรี การศึกษาในช่วง 2 ปีแรกของหลักสูตร  นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนสาขาวิชาต่างๆ ที่เป็นวิชาพื้นฐาน เมื่อเข้าชั้นปีที่ 3  จึงเลือก “major” ของสาขาวิชาที่ต้องการ และต้องลงทะเบียนเรียนในวิชาต่างๆ ภายใต้สาขาวิชานี้ตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้ สำหรับสถาบันการศึกษาบางแห่ง นักศึกษาอาจต้องเลือก “minor” ด้วย เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิชาเลือก (เพิ่มเติม) ในสาขาวิชาอื่นๆ ได้

กรณีนักศึกษาต่างชาติ วิทยาลัยหลายแห่งแต่ไม่ใช่ทุกแห่ง ต้องการให้ผู้สมัครเข้ารับการสอบเข้า ซึ่งปกติจะเป็นการสอบ Scholastic Assessment Test(SAT l) หรือ American College Testing(ACT) Assessment บางแห่งอาจขอให้สอบ SATll  Subject Test  โดยการสอบ SAT l จัดขึ้นหลายครั้งในช่วงปีการศึกษา และขอเอกสารการลงทะเบียนได้จากผู้บริหารการสอบหรือจากศูนย์ข้อมูลทางการ ศึกษาและให้คำปรึกษาของสหรัฐ โดยผู้สมัครสามารถลงทะเบียนได้ทางอินเตอร์เน็ต

สำหรับการที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแรกของผู้สมัคร ต้องสอบ TOEFL  ส่วนกรณีเฉพาะการสอบความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษอื่น ๆ อาจเป็นที่ยอมรับได้

เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์

Test of English as a Foreign Language(TOEFL)

http://www.toefl.ort

Scholastic Assessment Test (SAT)

http://www.collegeboard.org

American College Testing(ACT) Assessment

http://www.act.org

ระดับสูงกว่าปริญญาตรี (Postgraduate or Graduate Education)

การศึกษาในระดับนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนเฉพาะเจาะจงในสาขาวิชาต่างๆ เช่น Library Science, Engineering, Social Work หรือ MBA  โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาศึกษา 2 ปี หลักสูตรปริญญาโทบางหลักสูตรอาจมีระยะเวลาเพียง 1 ปี เช่น หลักสูตรด้าน Journalism หรือ LLM การศึกษาในระดับนี้จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเข้าชั้นเรียน และต้องเตรียมเขียนงานวิจัย  หรือ “Master’s Thesis” ด้วย

         นักศึกษาต่างชาติสมัครเรียนระดับนี้ ขั้นแรกต้องระบุเป้าหมายการศึกษาและอาชีพให้ชัดเจน เพื่อช่วยให้เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมที่สุด จากนั้น การตรวจสอบสถานการรับรองวิทยฐานะของโปรแกรมปริญญาที่กำลังพิจารณาสมัคร และค้นหาว่าปริญญานั้นได้รับการรับรองในประเทศตนหรือไม่

เมื่อแยกแยะรายชื่อโปรแกรมที่มีสาขาวิชาและวิชาเฉพาะที่ต้องการแล้ว ให้เปรียบเทียบระหว่างโปรแกรมในแง่ของค่าใช้จ่าย ความช่วยเหลือทางการเงินที่จะหาได้ เงื่อนไขการรับเข้าศึกษาและปริญญา องค์ประกอบของคณาจารย์และองค์กรนักศึกษา รวมทั้งบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกในมหาวิทยาลัย

            ปริญญาเอก-Doctorate (Ph.D.):

สำหรับบางสถาบัน นักศึกษาอาจเตรียมตัวเพื่อการศึกษาในระดับปริญญาเอกได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเข้าเริ่มต้นการศึกษาในระดับปริญญาโทก่อน ระยะเวลาของหลักสูตร คือ 3 ปีหรือมากกว่า แต่สำหรับนักศึกษาต่างชาติ อาจต้องใช้เวลาในการศึกษาถึง 5-6 ปี  สำหรับการศึกษาในช่วง 2 ปีแรก นักศึกษาส่วนใหญ่จะลงทะเบียนเพื่อการเข้าชั้นเรียนและร่วมสัมมนาต่างๆ หลังจากนั้น จะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 1 ปีในการทำงานวิจัยของตนเอง และเขียนวิทยานิพนธ์ ซึ่งไม่เคยมีการทำมาก่อน  นักศึกษาจะต้องเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ  สอบผ่านตามระดับคะแนนที่กำหนด  และผ่านการสอบปากเปล่าในหัวข้อเดียวกับงานวิทยานิพนธ์จึงจะสำเร็จการศึกษา

เว็บไซต์ที่มีประโยชน์

รายชื่อศูนย์ข้อมูลและแนะแนวการศึกษาของสหรัฐ

http://educationusa.state.gov

เชื่อมโยงโฮมเพจของมหาวิทยาลัย

http://www.siu.no/heir

ค้นหาเว็บไซต์มหาวิทยาลัย

http://www.collegenet.com

http://www.collegeview.com

http://www.educationconnect.com

http://www.embark.com

http://www.gradschools.com

http://www.petersones.com

http://www.studyusa.com

ข้อมูลการรับรองวิทยฐานะ

http://www.chea.org

http://www.educationusa.state.gov

สำหรับข้อมูลการศึกษาต่อสหรัฐ โดยละเอียดทุกระดับ สามารถชมได้ทาง

http://thai.bangkok.usembassy.gov/services/irc/ref_stu.html

ที่มา  http://www.interscholarship.com


ไทย-เยอรมนี สู่ความร่วมมือทางการศึกษา

150ปี แห่งการสถาปนาทางการทูตระหว่างไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนั้น ถือเป็นความสัมพันธ์แน่นแฟ้นที่มีให้กันมาอย่างยาวนาน และจากความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันครั้งนี้ จึงได้นำไปสู่การเจรจาความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างไทยและเยอรมนี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้บินลัดฟ้าสู่ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเจรจาความร่วมมือทางการศึกษากับนางคอร์นีเลีย พีเพอร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ไปแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้

หากเอ่ยถึงความร่วมมือทางการศึกษาของไทยและเยอรมนีนั้น ประเทศเยอรมนีให้ความร่วมมือแก่ไทยในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และการฝึกอบรมทางวิชาชีพ การพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเยอรมนีแก่ไทย สำหรับความร่วมมือทางด้านการศึกษา เยอรมนีมีความสัมพันธ์และความร่วมมือทางด้านการศึกษาและวิชาการกับประเทศ ไทยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน และรัฐบาลเยอรมนียังได้เคยแสดงความสนใจที่จะสนับสนุนความร่วมมือระหว่าง สถาบันทางวิชาการของไทยกับเยอรมนีในด้านต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งของทั้งสองประเทศ ซึ่งได้พัฒนามาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาแบบทวิภาคี และสะท้อนถึงพัฒนาการของความสัมพันธ์ที่ยาวนานและพัฒนาไปสู่ระดับการเป็นหุ้นส่วนต่อกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจของไทย ทำให้พัฒนาขีดความสามารถไปสู่การเป็นคู่ภาคีกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทำให้ความตกลงที่ได้เคยทำร่วมกันไว้มาหลายปี จำเป็นต้องได้รับการปรับให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ทั้งนี้จุดเด่นของกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนีคือ การมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศด้วย ดังนั้น การหารือในครั้งนี้ จึงอยากให้มีการสานต่อในเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายได้เคยหารือไว้เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2555 ในครั้งที่ทางเยอรมนีเดินทางมาเยือนประเทศไทย

สำหรับการเจรจาความร่วมมือทางการศึกษาครั้งนี้ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช  รมว.ศึกษาธิการ อธิบายว่า ได้มีการหารือถึงแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษาของทั้งสองประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นร่วมกันว่า ทั้งสองประเทศควรมีความตกลงด้านการศึกษาระหว่างกันในลักษณะของความเป็นหุ้น ส่วนที่เท่าเทียมกัน และควรขยายถึงภาคีอื่น ๆ เช่น การให้ทุนแก่ประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเข้ามาศึกษาในประเทศไทยจากการสนับสนุนของไทยและเยอรมนี

“ผมถือว่าเยอรมนีมีการจัดระบบการศึกษาที่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการ จัดการศึกษาที่ให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักโลกของการทำงานในรูปแบบการเรียนคู่ ขนานหรือที่เรียกว่าเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ซึ่งในระดับอุดมศึกษาของประเทศเยอรมนี นอกจากให้นักศึกษาได้เรียนภาคทฤษฎีในมหาวิทยาลัยแล้วจะให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ   ดังนั้น การหารือครั้งนี้จะมีการทำบันทึกความร่วมมือ ในการจัดส่งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันอาชีวศึกษา มาฝึกปฏิบัติงานที่บริษัทชั้นนำของประเทศเยอรมนีด้วย ผมเชื่อมั่นว่าการหารือครั้งนี้จะส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในเรื่อง เทคโนโลยีต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น รวมถึงจะเป็นผลดีกับอนาคตของเด็กไทยด้วย” ศ.ดร.สุชาติ กล่าว

นอกจากการเดินทางไปเจรจาความร่วมมือกับประเทศเยอรมนีครั้งนี้แล้วยังได้ มีการเยี่ยมชมศูนย์ประกอบการส่งเสริมธุรกิจของสภาช่างอุตสาหกรรม พอสต์ดัม เมืองเกิตซ์ แคว้นบรันเด็นบวร์ก ประเทศเยอรมนีด้วย โดยศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์ฝึกอบรมและการศึกษาด้านหัตถกรรมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ซึ่งมีภาคเอกชนได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่ประชาชน เพื่อนำไปเทียบโอนวุฒิการศึกษาได้ ดังนั้นประชาชนที่ขาดความรู้ทางด้านเทคนิคต่าง ๆ ก็จะมาเข้ารับการฝึกอบรมที่ศูนย์แห่งนี้ และนำความรู้ที่ได้รับกลับไปต่อยอดการทำงาน หรือตลาดอุตสาหกรรมในประเทศได้ ขณะเดียวกันศูนย์ดังกล่าวยังเป็นแหล่งให้การศึกษาพิเศษที่เป็นที่ยอมรับใน 5 สาขา ได้แก่ ไฟฟ้า รถยนต์ โลหะ เครื่องทำความร้อน การทาสี ช่างไม้  อีกด้วย แม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่เชื่อว่าการศึกษาดูงานจากสถาบันแห่งนี้จะนำไปประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้มากอย่างแน่นอน

นับว่ามิตรภาพอันแน่นแฟ้นที่ทั้งสองประเทศมีให้แก่กันเหล่านี้จะเป็นตัว ผลักดันและเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับเด็กไทยในการเพิ่มศักยภาพด้านอุตสาหกรรม หรือนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงให้เทียบเท่าเวทีโลกได้อย่างงดงาม

ที่มา http://www.dailynews.co.th


การสมัครเรียนต่อต่างประเทศ

การรับตรงเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในระบบของอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรป รวมทั้งประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศในเอเซีย ไม่เหมือนการรับตรงของเมืองไทยซะทีเดียว แต่ก็ไม่ถึงกับแตกต่างโดยสิ้นเชิง เพราะยังคงอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาทางด้านความรู้ความสามารถของผู้สมัคร ก่อนที่จะ Intake เข้ามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะใช้วิธีดูจากผลการเรียนที่ผ่านมาของนักเรียนที่จบในระดับไฮสคู ลของประเทศนั้น ๆ

อีกปัจจัยคือ ค่านิยมในการเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐมากกว่าเอกชน ในเมืองไทยยังคงมีมากอยู่ อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการเรียนก็ต่างกันมากเกินไป ทำให้มีข้อเปรียบเทียบที่ค่อนข้างชัดเจน และเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มักเป็นฝ่ายได้เปรียบเยอะ ขณะที่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชนจะไม่ต่างกันมาก เพราะรัฐบาลของต่างประเทศ มักให้ความสนับสนุนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทางด้านการเงินเป็นอย่างดี ทำให้ส่วนใหญ่มีศักยภาพในการพัฒนาสถาบันของตนให้มีความน่าเชื่อถือ น่าเรียนได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

โปรแกรมอินเตอร์ต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการศึกษา ถือเป็นความจริงที่คู่กับยุคสมัยนี้ เพราะมหาวิทยาลัยต่างประเทศ มักมีโปรแกรมที่เปิดรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการ เรียนการสอน และนักเรียนต่างชาติก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเรียน หรือค่าธรรมเนียมในการศึกษา ที่มากกว่านักเรียน Local หรือ นักเรียนสัณชาติของประเทศนั้น ๆ เพราะธุรกิจนี้ทำเงินให้กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำนวนมหาศาล และภาพรวมบางประเทศช่องทางนี้ถือเป็นรายได้หลักที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของ ประเทศเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรเลีย อเมริกา หรือ อังกฤษ  ด้วยเหตุนี้กฎเกณฑ์การ Recruit นักเรียนต่างชาติ หรือการรับตรงจึงไม่ใช่ปัญหา หรืออุปสรรคที่ยากเกินไปนักสำหรับนักเรียนที่จะเดินทางไปเรียนยังประเทศ เหล่านี้ หากมีความพร้อมทางด้านกำลังทรัพย์

ยิ่งหากเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับปานกลาง มักมีความยืดยุ่นในการรับนักศึกษาจากต่างประเทศเป็นพิเศษ เช่นกรณีคะแนนภาษาอังกฤษยังไม่ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ก็อาจรับเข้ามาก่อน และเปิดโอกาสให้เรียนภาษาปรับพื้นฐานเพิ่มเติม ก่อนส่งคะแนนภาษาย้อนหลังอีกครั้ง เป็นต้น

กฎเกณฑ์ในการพิจารณารับตรงนักศึกษาต่างชาติ

1.G.P.A.(Grade Point Average) หรือผลการศึกษา หากเป็นระดับปริญญาตรี ประมาณ 2.0 ขึ้นไป ปริญญาโท ประมาณ 2.5 ขึ้นไป

2.English score หรือคะแนนภาษาอังกฤษจากการทดสอบกับสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น Ielts,Toefl เป็นต้น เพราะนักเรียนต่างชาติต้องเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษเป็น หลัก หรือเป็นภาษาสื่อกลาง

3.Expenses มีความพร้อมทางด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะการยื่นหลักฐานบัญชีทางการเงิน ที่แสดงให้เห็นว่า สามารถสนับสนุนตนเองในการเรียนในต่างประเทศได้อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา

4.Health พร้อมทางด้านสุขภาพ เพราะต้องพบกับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ การกินอยู่ สังคมที่แตกต่างออกไป

5. Mental พร้อมทางด้านจิตใจ  ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะอาจมีปัญหา หรือประสบความล้มเหลวได้ หากใจไม่สู้ ในยามที่ต้องเผชิญกับปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ

ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกหลักสูตรเรียน

– เลือกหลักสูตรที่สอดคล้องกับอาชีพ ที่ต้องการทำ ซึ่งเกิดจากการค้นหาตัวเอง ว่าชอบเรียนด้านใดอย่างแท้จริง ไม่เลือกตามเพื่อน ซึ่งหากเลือกที่ใช่จริง ๆ แล้วก็จะมีผลต่อการประสบความสำเร็จในการเรียน ไปจนถึงการทำงานในอนาคต

– โอกาสในการทำงานหลังจบการศึกษา เพราะหากเลือกสาขาแห่งอนาคต โอกาสในการทำงานหลังจากการศึกษาย่อมดีกว่า เลือกสาขาที่แคบและจำกัด ดังนั้นการศึกษาล่วงหน้าเกี่ยวกับตลาดแรงงาน และแนวโน้มด้านนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ

– พื้นฐานและคุณวุฒิของตนเอง เนื่องจากสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีข้อกำหนดในการรับนักศึกษาที่แตกต่างกัน จึงควรพิจารณาพื้นฐานทางวิชาการ และข้อกำหนดอื่น ๆ ของตนเอง เช่น ประสบการณ์ในการทำกิจกรรม หรือทำงานต่าง ๆ

– โครงสร้างและเนื้อหาวิชาของหลักสูตร ควรเลือกเนื้อหาและหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด ชื่อของหลักสูตรที่เห็นอาจบอกรายละเอียดในระดับเบื้องต้นเท่านั้น  หลักสูตรบางหลักสูตรมีชื่อตรงกันแต่อาจมีเนื้อหาทางวิชาเรียนที่แตกต่างกัน

– ค่าใช้จ่าย โดยทั่วไปหากไม่ได้รับทุนการศึกษา นักเรียนต่างชาติต้องชำระค่าเล่าเรียนแบบเต็มจำนวน โดยปกติค่าเล่าเรียนของแต่ละสถาบัน และค่าครองชีพแต่ละเมืองย่อมแตกต่างกัน  ดังนั้นบางคนที่มีเพื่อนหรือญาติอยู่เมืองนอกก็อาจช่วยลดปัญหาเรื่องค่าใช้ จ่ายลงได้มากพอสมควร

สิ่งที่ควรทราบอื่น ๆ

เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษที่ต้องการ ในแต่ละระดับโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้

-คะแนน Toefl และ Ielts

-มัธยมศึกษา Toefl ระหว่าง 500-550 Ielts ระหว่าง 5.0-6.0

-Certificate 500-550 / 5.0-6.0

-Diploma    500-550 /5.0-6.0

-ปริญญาตรี  550-600 / 6.0-7.0

-สูงกว่าปริญญาตรี 550-600 / 6.0-7.0

 

ข้อมูลจาก   คุณสมเกียรติ เทียนทอง  http://www.interscholarship.com


ทำไมต้องซื้อ Travel Insurance

การประกันการเดินทาง

การเตรียมตัวสำหรับเดินทางในต่างประเทศได้อย่างอุ่นใจ  คุ้มครองการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือคุ้มครองการเจ็บป่วยอย่าง เฉียบพลันที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ตลอด 24 ชั่วโมงในระหว่างการเดินทาง  การซื้อประกันเดินทางต่างประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดภาระ มีหน่วยงานมาดูแลเมื่อท่านเกิดปัญหาขึ้นระหว่างการเดินทาง

แน่นอนว่า การตัดสินใจเลือกซื้อประกันฯ จากบริษัทประกัน ท่านอาจดูงบประมาณ ความจำเป็น แผนความคุ้มครอง การบริการ และ ความน่าเชื่อถือ  ที่สำคัญคือ เป็นบริษัทฯ ที่ต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตจากประเทศในกลุ่มเชงเก้น กรณีที่ท่านยื่นวีซ่าไปในกลุ่มประเทศยุโรโซน เพื่อนำไปใช้ในการยื่นขอวีซ่า

หลักฐานการประกันสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นในการยื่นคำร้องขอ วีซ่า ทั้งนี้วงเงินประกันต้องไม่ต่ำกว่า 30,000.– เหรียญยูโร หรือ 1.5 ล้านบาท และจะเป็นกรมธรรม์ของบริษัทประกันในยุโรป หรือบริษัทประกันท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยก็ได้ กรมธรรม์ของบริษัทประกันสามารถใช้แสดงเป็นหลักฐานต่อทางสถานทูตฯได้  โดยผู้ยื่นขอวีซ่าสามารถเลือกบริษัทที่จะทำประกันได้เอง ขอแนะนำบริษัทประกันภัยที่เป็นที่ยอมรับอันดับต้นๆ ในเมืองไทย ดังนี้

รายชื่อบริษัทประกันชั้นนำ

1. Mondial Assistance (Thailand) Co.,Ltd.  http://www.mondial-assistance-thailand.com

2. AXA Insurance PCL  บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) http://www.axa.co.th/th

3. บริษัท ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (NZI)  http://www.nzi.co.th

4. BUPA Health Insurance (บูพา ประเทศไทย)  www.bupathailand.com

5. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด  (DHIPAYA Insurance) www.dhipaya.co.th

6. บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)  www.muangthaiinsurance.com

หมายเหตุ  แผนการคุ้มครองที่คุณซื้อนั้นจะมีระยะเวลาครอบคลุมสูงสุด 90 วัน เท่านั้น กรณีที่ผู้ซื้อความคุ้มครองอยู่ภายใต้การรักษาของแพทย์อยู่ก่อนแล้ว เราจะไม่คุ้มครองผู้ถือประกันในส่วนของอารการดังกล่าว  ประกันเดินทางโดยทั่วไปจะถูกออกแบบมาสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวและการเดิน ทางเพื่อธุรกิจ หากวีซ่าของท่านเป็นประเภทวีซ่านักเรียน และมีระยะเวลาเกิน 90 วัน ท่านควรศึกษาเงื่อนไขของบริษัทฯ ให้ละเอียด ก่อนตัดสินใจซื้อ


ทำอย่างไรให้รู้ผลวีซ่าเร็วขึ้น

เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้มีเวลาในการพิจารณาใบสมัคร ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียกเอกสารเพิ่มเติม หรือตรวจสอบข้อมูลของคุณ  คุณควรปฏิบัติด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ เพื่อโอกาสในการร่นเวลาการพิจารณาใบคำร้องของท่านได้เร็วขึ้น

+ ยื่นใบสมัครที่ครบถ้วน รวมถึงเอกสารประกอบเพื่อแสดงให้ชัดเจนว่าคุณผ่านข้อกำหนดตามแต่ละประเภทของวีซ่าที่คุณสมัคร

+ หากคุณยื่นเอกสารตัวจริงมาพร้อมกับใบสมัครกรุณาแนบสำเนาประกอบด้วยทุกครั้ง ที่สำคัญคือท่านควรยื่นพาสปอร์ตทุกเล่มที่ท่านมี รวมทั้งใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ทะเบียนสมรส และใบเกิด ฯลฯ

+ ก่อนยื่นเอกสารใดๆ ทุกครั้ง คุณควรศึกษาข้อมูลจากทางเว็บไซต์ของสถานทูต ถึงรายละเอียดของเอกสารที่จะยื่น หรือสอบถามทางตัวแทน

+ เนื่องจากสถานฑูตแต่ละประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์ด้านวีซ่า และวิธีการยื่นใบสมัคร รวมถึงใบสมัคร ค่าวีซ่า  เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา หรืออาจการส่งเอกสารผิด คุณควรมีการอัพเดทข้อมูลเหล่านี้ก่อนยื่นทุกครั้ง

+ ควรวางแผนการยื่นใบสมัครวีซ่า พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาอย่างน้อย 3 สัปดาห์

+ กรุณาตรวจสอบรายละเอียดของผู้ติดต่ออื่นๆอาทิ ผู้สนับสนุน (สปอนเซอร์) คู่สมรส นายจ้าง ฯลฯ ว่าถูกต้องและสามารถติดต่อได้หรือไม่

+ หากคุณมีที่ปรึกษาหรือตัวแทนที่ช่วยในการดำเนินการขอวีซ่า กรุณาติดต่อบุคคลเหล่านั้นก่อนติดต่อทางสถานฑูต  เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะแจ้งสถานะการพิจารณาวีซ่า หรือ ส่งจดหมายและข้อมูลต่าง ๆ ผ่านตัวแทนของคุณ

+ ข้อมูลและเอกสารทั้งหมดที่ส่งมานั้นอาจมีการถูกตรวจสอบ ดังนั้นกรุณาตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลติดต่อและบุคคลอ้างอิงบนเอกสารนั้นๆ ครบถ้วนและถูกต้อง

+ กรุณาหลีกเลี่ยงการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามความคืบหน้าของการพิจารณาวีซ่า เพื่อว่าเจ้าหน้าที่จะได้เวลาเต็มที่ในการพิจารณาใบสมัครของท่าน   ดังนั้นหากเรามีความคืบหน้าในสถานะของใบสมัครเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ตัวแทนหรือผู้สมัครทราบโดยทันที


ข้อควรปฏิบัติเมื่อคุณถือวีซ่านักเรียน (F1)

หลังเหตุการณ์ 9/11 รัฐบาลสหรัฐ ได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด เรื่องการออกวีซ่า ทุกประเภท รวมทั้งวีซ่านักเรียน โดยกำหนดระบบ SEVIS (The Student and Exchange Visitor Information System) ขึ้นมาใช้ ระบบนี้กำหนดว่า โรงเรียนต่างๆ ที่สามารถออก I-20 ให้นักเรียนต่างชาติได้ ซึ่งได้รับการรับรองจาก DHS จะต้องลิงค์ข้อมูลนักเรียนต่างชาติ ไปที่อิมมิเกรชั่น ดังนั้น ข้อมูลทุกอย่าง เช่น นักเรียนย้ายที่อยู่ เปลี่ยนโรงเรียน ไม่ได้ลงทะเบียน ฯลฯ ทางอิมมิเกรชั่นจะสามารถตรวจสอบได้ทันที ระบบนี้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 31 Jan 2003 ส่วนนักเรียนที่มาเรียนก่อนหน้านั้น เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 Aug 2003

ปกติทางสถานทูตจะออกวีซ่าให้นักเรียน 5 ปี แต่ปัจจุบันนี้ มีหลายรายที่สถานทูตออกวีซ่าให้ เพียงหนึ่งปี ซึ่งเป็นกรณีที่ไปเรียนคอร์สสั้นๆ พอคุณเดินทางเข้าอเมริกาทาง ตม จะเขียนใน I-94 ของคุณว่า D/S (Duration of Status) แต่จะไม่ประทับวันหมดอายุ เหมือนวีซ่าประเภทอื่น ดังนั้น ตราบใดที่คุณยังคงสถานภาพนักศึกษา ซึ่งระบุใน I-20 คุณก็จะอยู่ไปได้เรื่อยๆ แต่ถ้าคุณเลิกเรียน ถึงแม้ว่า F-1 ของคุณยังไม่หมด แต่คุณไม่ได้เรียนแล้วเท่ากับวีซ่าขาดทันที ถ้าคุณยังเรียนต่อ แต่ F-1 หมดอายุไปแล้วก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าคุณเดินทางกลับไทย คุณต้องนำ I-20 ที่เป็นปัจจุบัน ไปขอวีซ่า F-1 มาใหม่ค่ะ

เมื่อก่อน คนส่วนใหญ่ชอบขอวีซ่านักเรียนมาอเมริกา หรือมาวีซ่าท่องเที่ยวแล้วมาเปลี่ยนสถานะเป็นนักเรียน โดยการซื้อ I-20 จากโรงเรียนสอนภาษา เพราะผู้ถือวีซ่านักเรียนสามารถจะขอทำใบขับขี่ และขอหมายเลข SSN ได้ ถึงแม้จะเป็น SSN ที่มีตราประทับว่า ห้ามทำงานก็ตาม และหลายคนใช้ SSN นี้ทำงานข้างนอก และมีหลักฐานการหักจ่ายภาษี ซึ่งตรงนี้ไม่เป็นผลดีในระยะยาว เพราะหากคุณทำเรื่อง ขอกรีนการ์ดเมื่อไหร่ ทางการจะทราบทันทีว่าคุณเคยทำงาน ในขณะที่ถือวีซ่านักเรียน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฏ ที่ทุกคนควรทราบคือ ฐานข้อมูล ของหน่วยงานรัฐบาล หลายหน่วยงาน เชื่อมโยงถึงกันหมด อาทิ USCIS, IRS, SSA, DMV, Department of Justice , ฯลฯ ดังนั้นการคิดจะซิกแซกไม่ควรทำค่ะ

หลังจากปี 2003 เป็นต้นมา ผู้ถือวีซ่านักเรียนต้องไปเรียนมิฉนั้นคุณจะโดนขึ้นบัญชีดำ ทันที และจะถูกอิมมิเกรชั่นตามจับถึงบ้าน การนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ที่อิมมิเกรชั่นจะมาตามตัวถึงบ้าน ถึงคุณจะย้ายบ้าน ก็ไม่พ้นความรับผิดชอบ เพราะว่า เป็นความผิดของคุณที่

หนึ่ง… ไม่ไปเรียน ปล่อยให้วีซ่าขาด

สอง… ตามกฏหมายแล้ว หากคุณย้ายที่อยู่ คุณต้องแจ้งย้ายที่อยู่ไปที่ อิมมิเกรชั่นภายใน 10 วันหลังจากย้ายแล้ว ดังนั้น อิมมิเกรชั่นสามารถออกหมาย ดำเนินเรื่องเนรเทศคุณได้ แม้จะยังไม่เจอตัว

ถ้าคุณถือวีซ่านักเรียนอย่าปล่อยให้สถานภาพขาด ถ้าคุณป่วยหรือมีความจำเป็นต้องขาดเรียน ต้องแจ้งให้ Foreign Student Advisor ที่โรงเรียนทราบทันที เพื่อที่โรงเรียนจะได้ไม่รายงานอิมมิเกรชั่น คุณควรศึกษากฏระเบียบ เรื่องการลาของโรงเรียนให้เข้าใจ เพื่อที่ว่า คุณจะได้ไม่ทำอะไร ที่ผิดเงื่อนไข อันจะเป็นเหตุให้ ทางโรงเรียนรายงานอิมมิเกรชั่นได้

ถ้าคุณต้องการเลิกเรียน และตั้งใจจะแต่งงานกับซิติเซ่น  อย่าทิ้งช่วงนาน รีบแต่งก่อนที่อิมมิเกรชั่นจะออกหมาย ดำเนินการเนรเทศคุณ

ผลพวงของการที่คุณปล่อยให้วีซ่าขาด ก็คือ พอคุณไปแต่งงานกับซิติเซ่น และยื่้นเรื่องขอกรีนการ์ด ทางอิมมิเกรชั่นก็จะพบทันทีว่า คุณมีเรื่องการเนรเทศค้างอยู่ ตรงนี้จะเป็นเหตุให้อิมมิเกรชั่นปฏิเสธกรีนการ์ดคุณทันที ในกรณีอย่างนี้คุณต้องยื่นเรื่องขอผ่อนผัน (waiver) พร้อมกับยื่นเรื่อง ขอกรีนการ์ด หากอิมมิเกรชั่นอนุมัติคำร้องขอผ่อนผันของคุณ ถึงจะเดินเรื่องกรีนการ์ดได้ หลายคน มักจะชอบบอกว่า ใครๆ เขาก็ทำกันได้ ไม่เห็นเป็นไร ตรงนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะค่ะ ถ้าวีซ่าขาด แต่อิมมิเกรชั่น ยังไม่ได้ออกหมาย ดำเนินการเนรเทศคุณ คุณก็รอดตัวไป แต่ถ้ามีหมายออกแล้ว กรีนการ์ดคุณ จะโดนปฏิเสธทันทีค่ะ

กรณี ที่ถือวีซ่านักเรียนอยู่แล้วจะแต่งงาน ส่วนมากจะไม่ศึกษากฏระเบียบให้ดี ทำให้ตัดสินใจผิดๆ ปัญหาหลักๆ ที่ดิฉันเจอบ่อยๆ คือ มีแฟนปั๊บ ก็เลิกเรียนปุ๊บ เพราะถือว่า เดี๋ยวก็ขอกรีนการ์ดได้ ตรงนี้มีสองพวกคือ

1.  แต่งงานกับซิติเซ่น แต่สามีมีปัญหานุงนัง เช่น ไม่ได้เสียภาษีติดต่อกันหลายปีและไม่อยากจะเสียให้ถูกต้อง สามีกำลังยื่นเรื่องล้มละลาย ทำให้ขาดคุณสมบัติ ในการเป็นสปอนเซ่อร์ หรือสามีเคยมีคดีมาก่อน ทีนี้พอแต่งงานแล้ว มารู้ทีหลัง ก็ทำให้ยื่นเรื่องไม่ได้ เลยเคว้งคว้างอยู่อย่างนั้น ทางที่ดีคือ ศึกษากันให้ดีก่อนแต่งงาน และรักษาสถานภาพนักเรียนเอาไว้ อย่าให้วีซ่าขาด จนกว่าจะได้กรีนการ์ด ซึ่งก็ไม่กี่เดือนเท่านั้น

2.  แต่งงานกับกรีนการ์ด   ปกติการแต่งงานกับกรีนการ์ดนั้น…..คุณต้องรอถึงห้าปีกว่าจึงจะได้กรีนการ์ด และภายในห้าปีนี้ คุณเดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ ถ้าไปก็จะกลับเข้าอเมริกาไม่ได้ ไม่สามารถขอ work permit หรือใบขับขี่ ฯลฯ นอกจากนั้นปัญหาหลัก ที่พบบ่อยมากคือ หลายต่อหลายคู่เลิกกัน ก่อนที่จะได้กรีนการ์ด ดังนั้น เรื่องก็ยิ่งยากขึ้นไปอีกตรงที่ วีซ่าขาดไปนานแล้วกรีนการ์ดก็ไม่ได้ และ้ถ้าไปแต่งงานและยื่นขอกรีนการ์ดใหม่ ทาง USCIS ก็จะตั้งข้อสังเกตว่า คุณนี่แต่งงาน เพราะอยากได้กรีนการ์ดหรือเปล่า ฯลฯ หลายคนมาปรึกษาว่า จะเลิกเรียนดีไหม ในกรณีอย่างนี้มักจะแนะนำให้ยอมเสียเงินลงทะเบียนเรียนไปเรื่อยๆ  จนกว่าจะได้กรีนการ์ด หรือหาทางเปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงานก่อนค่ะ เพราะอย่างน้อย ถ้าชีวิตสมรสไปไม่รอด ตัวคุณก็ไม่มีปัญหานุงนังแก้ไม่ตก สามารถตั้งต้นชีวิตใหม่ ได้ง่ายกว่ามากค่ะ

http://www.lawanwadee.com/